เนื่องจากสหภาพยุโรป (EU) ตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลง 50-55% ภายในปี 2573 และต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero emission) ภายในปี 2593 เพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 5-2.0 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้จึงได้กำหนดหนึ่งในมาตรการรับมือปัญหาดังกล่าวอย่าง Carbon Border Adjustment Mechanism ( CBAM )

CBAM Certificate คือ ภาษีนำเข้าคาร์บอน

เป็นมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป เพื่อกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทสำหรับป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ทำให้การนำสินค้าเข้าต้องจ่ายภาษีสินค้านำเข้าของผู้ประกอบการที่ส่งออกจากประเทศนอกสหภาพยุโรปใน 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ ซีเมนต์ บริการไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฮโดรเจน ครอบคลุมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม

รวมถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำที่อุตสาหกรรมเป้าหมายใช้วัตถุดิบเป็นส่วนประกอบ เช่น ตะปูเกลียว นอต แม้จะยังไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมคาร์บอน แต่จะต้องรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของสินค้าที่จะนำเข้าไปยัง EU

โดยให้ผู้ประกอบการส่งรายงานเรื่องปริมาณการนำเข้าสินค้า ปริมาณการปล่อย CO2 และค่าธรรมเนียมคาร์บอนที่จ่ายสำหรับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นในประเทศต้นทางของสินค้านำเข้า เพื่อเตรียมพร้อมกับการใช้มาตรการ CBAM อย่างจริงจังในอีก 2 ปีข้างหน้า

ตื่นตัวเรื่องCBAM

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า 7 กลุ่มอุตสาหกรรมที่นำร่องนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานสูงและมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมตัวเพื่อรับกับCBAM โดยเฉพาะสภาอุตสาหกรรมที่ตั้งหน่วยงาน climate change ขึ้นเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ พร้อมจัดอบรมให้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ 7 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ส่วนภาคเอกชนและผู้ประกอบการก็มีการปรับตัวอย่างมากเพื่อเตรียมพร้อมรับCBAM แต่ในวันที่ 1 ตุลาคมที่จะถึงนี้ เป็นเพียงการรายงานผลเท่านั้น ยังไม่มีผลบังคับใช้หรือปรับเงิน โดยให้เวลา 2 ปีในการปรับตัว แล้วหลังจากนั้นทุกกลุ่มอุตสาหกรรมจะต้องทยอยเข้าสู่CBAM อย่างเต็มรูปแบบ

กองทุนสีเขียวเพื่อ SMEs

นายเกรียงไกรกล่าวว่าCBAM นั้นเป็นเรื่องใหม่ของทั้งโลกและประเทศไทย ดังนั้นทุกคนจึงต้องค่อยเรียนรู้และปรับตัว เช่น การลงทุนในเครื่องจักรที่ทันสมัยและลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยลง ตลอดจนเตรียมพร้อมสำหรับการจัดเก็บคาร์บอน (carbon capture tax) ในอนาคต

“เรามีการวางแผนแต่ละช่วงไว้ โดยตั้งเป้าหมายเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และภายในปี 2065 ก็มีการตั้งเป้าสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ซึ่งหมายความว่า จะไม่มีการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ แต่จะเปลี่ยนเป็นการนำคาร์บอนนั้นกลับมาใช้”

นอกจากนี้ จากการเดินทางหลายประเทศเพื่อศึกษาเรื่องนี้ รวมถึงมีการเจรจาผู้บริหารของบริษัทเด็นโซ่ ในเรื่องการตั้งฐานการผลิตร่วมกับประเทศไทยเรื่องการจัดเก็บคาร์บอนเพื่อให้โรงงานสามารถติดตั้งได้ในราคาถูก

ดังนั้นเรื่องใหม่จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความรู้ ส่วนการเปลี่ยนเครื่องจักรเองก็ต้องใช้ทุนสูง โดยเฉพาะฝั่ง SMEs ซึ่งมี 2 กลุ่ม ได้แก่ SMEs ที่ทำเรื่องการส่งออกโดยตรง อีกกลุ่มคือ SMEs ที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตที่ต้องเข้าสู่ระบบเช่นเดียวกัน ซึ่งคนที่ต้องเข้ามาช่วยดำเนินการเรื่องคนที่เปลี่ยนเครื่องจักร คือ ภาครัฐ

ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีกองทุน green financing หรือกองทุนพลังงานสีเขียวที่ต้องมีทุนไม่น้อยกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐต่อปี เพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด และสามารถให้ผู้ประกอบการกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำได้ โดยเงินทุนสำหรับกองทุนนี้จะมาจากการลงขันกันระหว่างภาครัฐและเอกชนรายใหญ่

รัฐบาลใหม่กับ CBAM

นายเกรียงไกรกล่าวเพิ่มว่า ปัจจุบันมีการพูดคุยกับรัฐบาลรักษาการอยู่แล้ว ซึ่งเห็นว่า หากรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาก็สามารถดำเนินการต่อได้ทันทีและจริงจัง จนเกิดเม็ดเงินและกองทุนได้จริง เพราะนโยบายนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่การผลักดันให้สำเร็จนั้นยาก ดังนั้นจึงต้องมีเงินมาหนุนในส่วนนี้

“ประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกมากกว่า 60% แค่เฉพาะสินค้าไม่รวมบริการ ทำให้การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำจำเป็นและกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัว เพราะหลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน เริ่มมีมาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบใหม่ที่เป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องรีบปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพแข่งขันและพลิกวิกฤตเป็นโอกาส เพื่อกลายเป็นผู้นำการส่งออกที่แข็งแกร่งในอาเซียน”

CBAM ผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย

มาตรการCBAM มีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรง ในฐานะประเทศ “รับจ้างผลิต” ที่พึ่งพิงการส่งออกค่อนข้างมาก ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่า 4.3% ของมูลค่าการส่งออกจากไทยไปอียูเป็นสินค้าที่เข้าข่ายCBAM หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 952 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ตัวเลขจากปี 2021) ราคาสินค้าส่งออกเหล่านี้จะแพงขึ้นจากต้นทุนภาษีที่เพิ่มขึ้น ทำให้เสียเปรียบคู่แข่งในตลาด หรือที่หนักไปอีกคือสินค้านั้น ๆ อาจไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าอียูเลย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้นำบราซิล ‘ประณาม’ รัสเซียบุกยูเครน ชูแผนสันติภาพ

ต้องร่วมยุส่งเรือรบ บิ๊กอียูเห็นต่างมาครง

ไบเดน ลงนามกฎหมายกำหนดให้เผยแพร่ข้อมูล ต้นตอโควิด-19

เครื่องบินออสเตรเลียจอดปลอดภัย หลังเครื่องยนต์ขัดข้อง

สามารถติดตามบทความอื่นๆได้ที่ https://www.kazama-dc.com/

สนับสนุนโดย  ufabet369

ที่มา www.prachachat.net