ยุงกัด ไม่ใช่แค่ทำให้คันเท่านั้น แต่มันยังส่งผ่านหลายโรค และนำไปสู่การติดเชื้อที่ผิวหนังหากเกา มีหลายวิธีที่จะป้องกันเด็กๆ ไม่ให้ถูกยุงกัด ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยากันยุง การสวมเสื้อผ้าอย่างเหมาะสม และการตัดสินใจที่ดีว่าที่ไหนและเมื่อไหร่ที่จะออกไปเล่นได้ ทั้งหมดนี้สามารถช่วยไม่ให้ยุงกัดได้

ยุงกัด นำโรคมาแพร่กระจายได้

ยุงกัด เป็นเรื่องน่ารำคานใจถึงแม้ยุงจะมีวงจรชีวิตที่สั้น แต่เป็นพาหะนำโรคภัยต่างๆ มาแพร่กระจายสู่คนได้ เนื่องจากยุงตัวเมียจะใช้ปากเจาะลงไปบนผิวหนังของสัตว์เลือดอุ่นรวมทั้งมนุษย์ เพื่อดูดกินเลือดและนำโปรตีนในเลือดมาใช้ในกระบวนการสืบพันธุ์ขยายพันธุ์ ในขณะที่ยุงตัวผู้จะไม่กัดและดูดเลือด เพราะไม่จำเป็นต้องวางไข่แพร่ขยายพันธุ์ดังเช่นยุงตัวเมีย

จากการดูดเลือดจากคนสู่คนหรือสัตว์มาสู่คน ยุงจึงอาจนำเชื้อโรคและไวรัสต่างๆ มาแพร่สู่คนจนเกิดการเจ็บป่วยและโรคระบาดต่างๆ ได้มากมาย

เคล็ดลับป้องกันยุงในบ้าน

บ้านนับเป็นสถานที่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะเด็กต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านมากที่สุด และการที่มียุงอยู่ในบ้านก็สามารถทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรัง ที่สร้างความหงุดหงิด รำคาญใจ และเสี่ยงต่อสุขภาพของคนในครอบครัว ทั้งการเป็นโรคระบาดอย่างไข้เลือดออก หรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมา โดยเฉพาะกับลูกน้อยที่ยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ และมีภูมิคุ้มกันต่ำ

จึงต้องมีวิธีป้องกันยุงที่สามารถทำได้ง่าย ๆ เพื่อปกป้องดูแลสมาชิกในบ้าน ไม่ให้ลูกโดนยุงกัด มาบอกต่อกัน ดังนี้

  • ปลูกพืชหรือต้นไม้ที่มีกลิ่นไล่ยุง

สำหรับบ้านที่มีบริเวณสนามหญ้า หรือมีพื้นที่ว่างในบริเวณบ้าน วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีไล่ยุงแบบธรรมชาติ ที่ปลอดภัย ไม่ต้องใช้สารเคมี แถมสามารถนำพืชไปใช้ประกอบอาหารหรือทำประโยชน์ต่อไปได้อีกด้วย ซึ่งพืชที่ควรปลูก ได้แก่ ตะไคร้หอม สะระแหน่ โหระพา มะกรูด

สำหรับบ้านหรือคอนโดที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถใช้น้ำมันหอมระเหย หรือเทียนที่มีกลิ่นจากธรรมชาติมาทดแทนกันได้

  • ปิดบ้านให้มิดชิดป้องกันยุง

โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่พลบค่ำเป็นต้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ยุงมักออกหากิน จึงควรปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด พยายามอย่าให้ในตัวบ้านมีรอยรั่วที่ยุงอาจเล็ดลอดมาได้ อาจเลือกติดตั้งมุ้งลวดเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงบินเข้ามาในตัวบ้าน ซึ่งการติดมุ้งลวดจะทำให้สามารถเปิดประตูหน้าต่างได้ปกติ จึงมีอากาศถ่ายเท ลดความอบอ้าวและอับชื้นในบ้านได้ นอกจากจะเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกโดนยุงกัดแล้ว การปิดบ้านให้มิดชิดยังช่วยป้องกันแมลงหรือสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ ที่อาจแอบแฝงเข้ามาในบ้านได้อีกด้วย

  • กำจัดให้สิ้นซาก ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์!

ทำลายวงจร ตัดตอนแหล่งเพาะพันธุ์ที่ยุงมาวางไข่ โดยพยายามอย่าให้เกิดน้ำขังในบริเวณบ้าน หมั่นเทน้ำ เปลี่ยนน้ำเป็นประจำ อาจจะเลือกโรยทราย เกลือ ผงซักฟอก หรือน้ำส้มสายชูผสมลงในน้ำเพื่อกำจัดตัวอ่อนในภาชนะที่บรรจุน้ำนิ่ง เช่น จานรองกระถางต้นไม้ อ่างบัว แจกัน จานรองขาตู้กับข้าว หรือถ้ามีบ่อน้ำก็ควรเลี้ยงปลาตัวเล็กอย่างปลาหางนกยูงไว้กำจัดลูกน้ำยุงลาย

เคล็ดลับป้องกันยุงกัดลูกน้อย

ยุงเป็นพาหะที่ก่อให้เกิดโรคอันตรายได้มากมาย ทั้งโรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนย่า โรคเท้าช้าง โรคมาลาเรีย ซึ่งบางโรคอาจส่งผลอันตรายในแบบที่ผู้ใหญ่หลายคนยังรับมือยาก แล้วกับลูกน้อยที่ยังปกป้องตัวเองไม่ได้ ยิ่งต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ จึงเป็นหน้าที่สำคัญของพ่อแม่ที่ต้องช่วยปกป้องดูแลไม่ให้ลูกโดนยุงกัด จนลูกแพ้ยุงได้ ด้วยวิธีเหล่านี้

  • การแต่งกายมิดชิด

ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายและผิวของลูกให้ได้มากที่สุด ปกปิดแขนขาให้มิดชิด โดยเฉพาะในตอนกลางคืนที่เป็นเวลายุงชุม หรือถ้าต้องพาลูกน้อยออกไปข้างนอก และควรเลือกให้ลูกใส่เสื้อผ้าสีอ่อน สีสว่าง ไม่ควรให้ลูกใส่เสื้อผ้าสีเข้ม เช่น สีดำ สีกรมท่า สีน้ำเงิน เพราะเป็นสีดึงดูดยุงที่อาจทำให้ลูกโดนยุงกัดได้

  • ป้องกันด้วยยากันยุง

การใช้ยากันยุงเหมาะสำหรับเด็กทารกที่มีอายุมากกว่า 2 เดือนขึ้นไป  ในเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน ควรป้องกันไม่ให้ลูกโดนยุงกัดด้วยการให้อยู่ในห้องที่มีมุ้งลวดหรือเตียงเปลที่มีมุ้งผ้ากั้นตลอดเวลา และไม่ควรใช้ยากันยุงที่มีสารดีอีอีทีที่เข้มข้นเกิน 30 เปอร์เซ็นต์กับเด็กเล็ก รวมถึงไม่ควรใช้ยากันยุงที่มีส่วนผสมของเลม่อนแบบเข้มข้นกับเด็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ

ในส่วนของการเลือกใช้ยากันยุง ควรพิจารณาควบคู่กับระยะเวลาที่ลูกน้อยอาจเสี่ยงโดนยุงกัดด้วย เช่น หากต้องไปข้างนอกไม่นานเพียง 1-2 ชั่วโมง ก็สามารถเลือกใช้ยากันยุงที่มีความเข้มข้นน้อยได้ แต่ถ้าหากมีระยะเวลานานกว่านั้นก็อาจจะต้องเลือกที่มีความเข้มข้นสูงตามขึ้นไป

  • ใช้มุ้งดักยุง

หากไปยังสถานที่ที่มียุงเยอะมาก ให้ลองใช้มุ้งดักยุงที่เตียงของเด็กๆ และในระหว่างช่วงเวลางีบ หากคุณพาเด็กๆ ออกไปข้างนอกในช่วงเช้ามืดหรือค่ำๆ หรือผ่านป่าหรือบริเวณรกๆ ให้สวมมุ้งดักยุงที่รถเข็น เด็กจะหายใจได้อยู่แต่คุณจะต้องเสริมการป้องกันของเด็กๆ เพิ่ม

  • ใช้เพอร์เมทรินกับเสื้อผ้า

ใช้ยากันยุงที่มีเพอร์เมทรินบนเสื้อผ้า ในการทำเช่นนี้ คุณจะเพิ่มการปกป้องอีกชั้นหนึ่ง คุณอาจจะซื้อเสื้อผ้าที่มีสารนี้อยู่แล้วที่ร้านขายอุปกรณ์กีฬา อย่าสเปรย์ยากันยุงที่มีเพอร์เมทรินไปโดยตรงที่ผิวหนัง

  • ให้เด็กๆ อยู่ภายในบ้านในช่วงเช้ามืดและหัวค่ำ

แม้ว่ายุงจะกัดตอนไหนก็ได้ มันจะมีเยอะมากๆ โดยเฉพาะในช่วงเช้าตรู่และช่วงเย็นๆ หากเด็กๆ อยู่นอกบ้านในช่วงนั้น ให้แต่งตัวให้เด็กๆ อย่างเหมาะสมและใช้ยากันแมลง

ยุงกัด

วิธีการรักษาหลังถูกยุงกัด

หลังถูกยุงกัดควรดูแลอาการด้วยวิธีต่อไปนี้

  • ล้างทำความสะอาด ผิวหนังบริเวณที่ถูกยุงกัดด้วยสบู่และน้ำอุ่น
  • ทายา ที่เป็นเนื้อครีมหรือโลชั่นซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปลงบนผิวบริเวณที่ถูกยุงกัด เช่น คาลาไมน์ (Calamine) และไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone) เพื่อลดอาการคัน หรือป้ายผิวหนังบริเวณนั้นด้วยเบกกิ้งโซดาผสมกับน้ำ แล้วทาครีมเหล่านี้ซ้ำวันละหลาย ๆ ครั้งจนกว่าอาการจะดีขึ้นและหายไป
  • ประคบเย็น ไปบนผิวหนังบริเวณที่ถูกยุงกัด อาจใช้ถุงน้ำแข็ง หรือผ้าเปียกชุบน้ำเย็นประคบเป็นเวลา 23 นาที เพื่อบรรเทาอาการ
  • รับประทานยา หากมีอาการรุนแรงพอสมควร ผู้ป่วยอาจรับประทานยาแก้ปวด หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) เพื่อลดอาการแพ้ที่เกิดขึ้น แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น มีอาการรุนแรงมากขึ้น หรือมีอาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที
  • ตัดเล็บให้สั้น และหลีกเลี่ยงการเกาตุ่มที่ถูกยุงกัด เพื่อป้องกันการเกิดแผลและการติดเชื้อ

ทาผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มสเตียรอยด์

เมื่อลูกน้อยโดนยุงกัดและเริ่มมีอาการรุนแรง สามารถทาผลิตภัณฑ์ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ที่อยู่ภายใต้คําแนะนําของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดและบรรเทาอาการแสบร้อนได้

คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการลูกน้อยเมื่อโดนยุงกัดให้ดี เพราะการที่ลูกแพ้ยุงก็อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ เช่น ลูกน้อยอาจแพ้มากและเกาบริเวณที่โดนยุงกัดจนเป็นแผลลุกลาม และอาจส่งผลให้เกิดโรคอื่นตามมา ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตเป็นประจำ หากพบว่าลูกเริ่มมีผื่นที่เป็นนานกว่าปกติ หรือเกิดรอยดำ รอยแดง รวมถึงลมพิษที่บ่งบอกถึงอาการแพ้รุนแรง ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้จ่ายยาได้ทันที ยิ่งในช่วงฝนตกอากาศชื้นยิ่งต้องดูแลให้ดี เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย และทุกคนในครอบครัว

สร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย

  • สร้างพื้นที่เล่นสำหรับเด็กๆ ในบริเวณที่แห้งที่สนามหญ้า

หลีกเลี่ยงการวางกล่องทราย สระน้ำสำหรับเด็ก หรือชิงช้าในบริเวณที่มีแอ่งน้ำหรือใกล้กับบึงหรือบ่อน้ำ ให้มองหาบริเวณแห้งๆ ของสนามหญ้าของคุณแทน แม้ว่าคุณอาจจะอยากได้ร่มเงาบางส่วนจากต้นไม้เพื่อปกป้องแสงแดด ให้พยายามเลือกพื้นที่เล่นที่มีแสงแดดเพียงบางส่วน

จำกัดระยะเวลาที่คุณให้เด็กเล็กในการเล่นข้างนอกในช่วงเวลาประมณ 10 โมงเช้าไปถึง 4 โมงเย็นหากคุณกังวลเกี่ยวกับการที่เด็กๆ ต้องเผชิญกับแสงแดด อย่าปล่อยให้เด็กเล็กๆ เล่นใต้โต๊ะใดๆ บริเวณนั้นชื้นและมียุงอยู่เป็นรัง

  • เปลี่ยนน้ำที่ตั้งอยู่ทุกอาทิตย์หรือบ่อยกว่านั้น

สระน้ำของเด็กๆ และบ่อน้ำให้นกกินน้ำนั้นเป็นแหล่งทั่วไปที่จะมีน้ำตั้งอยู่ ยุงจะใช้น้ำนิ่งในการวางไข่ ขอให้แน่ใจว่าคุณเปลี่ยนน้ำอย่างเป็นประจำ อย่าทิ้งกระถางดอกไม้เก่าให้ตั้งอยู่ที่สนามหญ้า มันอาจจะมีน้ำสะสมอยู่ หากปกติแล้วคุณไม่ได้ใช้สระน้ำของเด็กๆ ใช้ในการรดน้ำดอกไม้หรือสนามหญ้า ลองใช้น้ำเพื่อการอื่นๆ แทนที่จะทำให้น้ำขัง

  • ดูแลบริเวณด้านนอกของบ้าน

ตัดหญ้าเป็นประจำและตัดวัชพืชที่ยาวๆ นำของเสียที่สะสมออกไปจากถังขยะ หากคุณมีกองไฟ ขอให้แน่ใจว่าได้นำน้ำที่ขังอยู่ออก วิธีนี้ทำเช่นเดียวกับยางรถ มันเป็นแหล่งที่อยู่ของยุง โดยปกติแล้วพยายามรักษาระดับของสนามหญ้าเพื่อที่น้ำจะไม่ได้ขังบริเวณที่ไม่ต้องการ ตัดหญ้าที่สนามอย่างเป็นประจำ เล็มวัชพืชใดๆ ที่สูงหรือหญ้า

  • ขอให้แน่ใจว่าห้องนอนของเด็กๆ นั้นมีมุ้งลวด

หากมุ้งลวดมีรู ให้ซ่อมทันที แม้แต่รูเล็กๆ ก็ทำให้ยุงหลายตัวเข้ามาได้ โดยเฉพาะในตอนกลางคืน ยุงนั้นมักจะใช้รูขาดๆ เพื่อหาคนที่มันจะกัด

เมื่อโดนยุงกัดเยอะ หรืออยู่ในที่ๆ มียุงชุม สามารถฉีดสเปรย์กันยุงและแต่งตัวให้มิดชิด หรือหากอยู่ในบ้านไม่ควรฉีดสเปรย์กันยุงในบริเวณที่อับ หากเด็กๆ นั้นมีอาการแพ้ต่อยากันแมลง จะมีผื่นขึ้น ให้ล้างผิวหนังบริเวณนั้นด้วยสบู่และน้ำ หากเด็กมีอาการบวมที่ใบหน้า ร่างกาย หรือมีปัญหาเรื่องการหายใจ ให้พาไปหาหมอเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันที

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  kazama-dc.com

สนับสนุนโดย  ufabet369